วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การวางแผน

หาองค์ประกอบด้านวีธีการ คือ การวางแผนการเขียนบท วางแผนการถ่ายทำ ตลอดจนการตัดต่อและ
การประเมินผล
หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ นักแสดง ผู้กำกับ ผู้ช่วยผู้กำกับและผู้มีความรู้ในด้านนี้


มุมกล้อง

ECU ( Extreme Close up ) ขนาดภาพใกล้สุดๆ ถ่ายทอดรายละเอียดเฉพาะส่วนของนักแสดง วัตถุ
CU ( Close up ) ขนาดภาพใกล้ เช่น เต็มใบหน้า เห็นสีหน้าและอารมณ์ที่แสดงอย่างชัดเจน
MCU ( Medium Close up ) ขนาดภาพปานกลางใกล้ ตั้งแต่หน้าอกขึ้นไป มองเห็นนักแสดงหรือวัตถุผสมกับบรรยากาศนิดหน่อย
MS (MIDIUM SHOT) ขนาดภาพปานกลาง ตั้งแต่สะโพกหรือเอวขึ้นไป นำเสนอท่าทางของนักแสดงมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก เห็นบรรยากาศมากขึ้น
MLS (MEDIUM LONG SHOT) ขนาดภาพปานกลางไกล ตั้งแต่หน้าแข้ง เข่า หรือหน้าขาขึ้นไป เห็นการเคลื่อนไหว บุคลิกท่าทาง การกระทำของนักแสดง
LS (LONG SHOT) ขนาดภาพไกล เห็นนักแสดงตัวเล็กอยู่ในสภาพแวดล้อม
VLS (VERY LONG SHOT) ขนาดภาพไกลมาก เน้นให้คนดูเห็นสถานที่ บรรยากาศ หรือสภาพแวดล้อมเป็นหลัก
ELS (EXTREME LONG SHOT) ขนาดภาพไกลสุดๆ บอกเล่าสถานที่และบรรยากาศโดยรวม



การเคลื่อนกล้อง

ZOOM    คือการสร้างความเคลื่อนไหวของภาพด้วยเลนส์ซูมเข้าหรือZoom in คือการดึงภาพจากไกลเข้ามาใกล้ ซูมออกหรือZoom out คือการถอยภาพจากใกล้ออกไปเป็นภาพไกล 
PAN        คือการหันกล้องไปทางซ้ายหรือขวา เหมือนพัดลมส่ายหน้า เรียกว่าแพนซ้าย-Pan Left หรือแพนขวา-PanRight
TILT       คือการแพนขึ้น-ลงในแนวดิ่งนั่นเอง แต่จะเรียกว่าTilt UP หรือTilt Down การบันทึกภาพจะกินพื้นที่เพิ่มไปทางด้านบน-ล่าง การวาดStoryboardก็จะต้องวาดภาพที่เพิ่มขึ้นในแนวดิ่ง
DOLLY / TRACK คือการเคลื่อนกล้องจากเฟรมหนึ่งไปยังอีกเฟรมหนึ่งด้วยล้อเลื่อน การเคลื่อนกล้องไปทางด้านข้าง เรียกว่า Dooly Left หรือ Track Left ส่วนการเคลื่อนกล้องไปข้างหน้าเข้าหาวัตถุ Dolly In หรือ Track In การวาดลูกศรในStoryboard จะคล้ายกับการแพน แต่เพื่อความชัดเจนและเพื่อสร้างความรู้สึก เราอาจจะวาดลูกศรให้ยาวขึ้น และนิยมวาดให้มีลูกศรดูมีระยะ มีPerspectiveของลูกศรด้วย
CRANE คือการนำกล้องไปติดตั้งบนแขนปั้นจั่น(ดิกชันนารีเค้าแปลว่ายังงั้น) และเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง จากมุมต่ำไปมุมสูง เรียกว่าCrane Up หรือจากมุมสูงลงมามุมต่ำ เรียกว่า Crane Down การวาดลูกศรในStoryboard จะคล้ายกับการทิลท์ แต่อาจจะวาดลูกศรให้ยาวขึ้น หรือวาดตามวงสวิงของแขนเครนตามที่ออกแบบไว้ก็ได้ครับ
JERKกล้องสั่น! เป็นการเคลื่อนกล้องอีกแบบหนึ่งที่น่าวาดไว้ในStoryboard เพราะจะทำให้ตากล้องและทีมงานรู้วิธีการทำงานได้ง่ายขึ้นมากกว่าการวาดเฟรม นิ่งๆ การวาดขอบเฟรมซ้อนเหลื่อมกันหลายๆชั้น จะช่วยแสดงความรู้สึกสั่นหรือแกว่งไกวของภาพได้


การเชื่อมภาพ

CUT คือการตัดชน เป็นวิธีพื้นฐานและใช้บ่อยที่สุด ปกติในStoryboardก็จะมีการแบ่งเฟรมภาพเป็นช่องๆ ซึ่งหมายถึงการตัดชนธรรมดา บางคนอาจจะไล่จากซ้ายไปขวาแล้วขึ้นแถวใหม่ หรือบางคนอาจจะไล่จากบนลงล่าง แล้วขึ้นคอลัมน์ใหม่ก็ได้ แล้วแต่ถนัด
DISSOLVE ภาษาไทยใช้คำว่า การจางซ้อนเป็นการละลายภาพ 2 ภาพให้มาแทนที่กัน มักใช้สื่อความหมายว่าเวลาได้ดำเนินผ่านไปเล็กน้อย การวาดStoryboardเพื่อให้รู้ว่า 2 ช้อตนี้จะDissolveเข้าหากัน ทำได้โดยวาดเครื่องหมายกากบาทไขว้
LONG TAKE คือการถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นช้อตเดียวโดยไม่คัท ปกติถ้าการแสดงไม่มากก็อาจจะวาดเพียงช่องเดียว แต่บางครั้งการแสดงนั้นเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนท่าทาง เปลี่ยนบล็อคกิ้ง มีตัวละครเพิ่ม ฯ การวาดStoryboardโดยให้รู้ว่านี่เป็นช้อตต่อเนื่องกัน ไม่คัท อาจจะทำได้โดยการวาดช่องใหม่ แต่ให้ขอบเฟรมติดกัน เป็นการบอกว่านี่คือการถ่ายแบบต่อเนื่อง



การเคลื่อนไหวของนักแสดง

บางครั้งStoryboardที่เป็นภาพนิ่งๆ ก็อาจจะเล่าเรื่องได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อนักแสดงหรือวัตถุมีการเคลื่อนไหว จึงนิยมวาดลูกศรเพื่ออธิบายทิศทางการเคลื่อนไหวนั้น โดยใช้ลูกศรสีดำ เส้นบาง


นักแสดง

นายทศพร  บูรณสรรค์                       รับบท                     เต๋           
นายณัฐพล  กุลขจรวดี                        รับบท                     ติ่ง                          
นายกลวัชร  กาบตุ้ม                           รับบท                     น๊อต      
นางสาวพิราวัลย์  พันธ์รอด              รับบท                     เปี๊ยก
นางสาวธนิกานต์  บัวหลวง              รับบท                     ส้ม                         
นางสาวศิริพร เจียวสามเนตร์           รับบท                     แม่ของเต๋                             


นักแสดงรับเชิญ

นางสาวชนนิกานต์ เกตตะพันธ์
นางสาววรรณภา  เรียบร้อย


Location (สถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำ)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (ศาลายา)
หอพักนฤรัตน์ ศาลายา
สถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล
ร้านอาหาร Birdbar


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น