ทำขึ้นเพื่อการศึกษา วิชาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ 4 ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสรภูมิ วรนิมมานนท์
วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554
คำนำ
คำนำ
ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ย้อน” เรื่องนี้ เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนสังคม แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันกลุ่มวัยรุ่นยังคง
คึกคะนองกับวัย ไม่ตั้งใจเรียนหรือทำในสิ่งที่พ่อแม่ปลูกฝังจึงมีแนวคิดที่จะสื่อออกมาให้เห็นโดยถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์
สั้นเรื่องนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางผู้จัดต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
สารบัญ
สารบัญ
หัวข้อ หน้า
บทภาพยนตร์ 1-14
แนวคิดในการจัดทำ 15
การวิเคราะห์ 16
Storyboard 17-21
การวางแผน 22
นักแสดงและLocation 24
ขั้นตอนการถ่ายทำ 25-31
ขั้นตอนการตัดต่อ 32-38
แบบประเมิน 39-49
Storyboard
Storyboard
คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูด และแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏ ว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือ หนังขึ้นมาจริงๆ
ประโยชน์ของ Storyboard
Storyboard คือภาพร่างของช้อตต่างๆที่วาดลงในกรอบ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการทำงานร่วมกันของคนเขียนบท
ผู้กำกับภาพ และผู้กำกับ Storyboardจะช่วยให้ทีมงานทั้งหมดจินตนาการได้ว่าหนังจะออกมาหน้าตาเป็น อย่างไร พวกเขาต้องทำอะไรกันบ้างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามนั้นผู้อำนวยการสร้าง จะสามารถคำนวณงบประมาณที่จะใช้ในการถ่ายทำได้ Storyboard จะทำให้รู้ว่าหนังมีกี่ช้อต กี่โลเกชั่น ฉากใหญ่โตแค่ไหน มีเทคนิคหรืออุปกรณ์พิเศษมากน้อยเพียงใดผู้จัดการกองฯ รู้ว่าการถ่ายทำควรจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ต้องตระเตรียมอะไร ยังไงบ้างผู้กำกับ และผู้ช่วยฯ สามารถวางแผน
การแสดง หรือการเคลื่อนที่ของนักแสดง ในทิศทางต่างๆได้ผู้กำกับภาพหรือตากล้อง รู้ว่าจะต้องทำงานอย่างไร ถ่ายทำด้วยขนาดภาพใดซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้เลนส์ รู้วิธีการเคลื่อนกล้อง และสามารถวางแผนการใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆได้
เช่น ดอล เครน ฯฝ่ายศิลป์ รู้ว่าจะต้องจัดการกับฉากหรือโลเกชั่นมากน้อยเพียงใด ตามขนาดภาพที่ระบุไว้ในStoryboard
คนจัดแสง รู้ขอบเขตของการทำงานของตนแม้แต่ผู้บันทึกเสียงและคนถือไมค์บูม ก็รู้ว่าเขาควรจะอยู่ในตำแหน่งไหนของกองถ่าย
สิ่งสำคัญที่อยู่ในStoryboard
1. Subject หรือCharacter ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือตัวการ์ตูน ฯ และที่สำคัญคือพวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
2. กล้อง ทำงานอย่างไร ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพ และการเคลื่อนกล้อง
3. เสียง พวกเขากำลังพูดอะไรกัน มีเสียงประกอบ หรือเสียงดนตรีอย่างไร
บทภาพ (storyboard)
คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพ ประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554
บทภาพยนตร์สั้น
บทภาพยนตร์สั้น
เรื่อง
“ย้อน”
ฉากที่ 1
สถานที่ บ้านโต๋เต๋
ตัวละคร ไม่มี
เสียง วู้วิ้วของลม
เวล เช้า
ฉากที่ 2
สถานที่ ร้านอาหาร
ตัวละคร แม่ โต๋เต๋
เวลา เช้า
บท โต๋เต๋ : ไปเรียนแล้วนะคับแม่
แม่ : ตั้งใจเรียนนะเต๋ อย่าเกเรนะลูก เดี๋ยวกลับแม่ไปรับ
โต๋เต๋ : ไม่ต้องหรอกแม่ เดี๋ยวเต๋กลับกับเพื่อน
ฉากที่ 3
สถานที่ โรงเรียน
ตัวละคร โต๋เต๋ ติ่ง
เวลา เช้า
เสียง นักเรียนเรียนในห้องเรียน
บท โต๋เต๋ : เห้ย ! เบื่อว่ะ โดดเรียนไปสูบบุหรี่หลังห้องน้ำดีกว่าเว้ย
ติ่ง : ไปดิว่ะไอเต้กูแม่งก็เบื่อว่ะ
ฉากที่ 4
สถานที่ หลังห้องน้ำในโรงเรียน
ตัวละคร โต๋เต๋ ติ่ง น๊อต
เวลา เช้า
บท ติ่ง : เห้ย ! เต๋ขอบุหรี่กับไฟแช็คหน่อยดิ
น๊อต : พวกเราดูดบุหรี่แม่ง เท่ว่ะ
เต๋ : เออ ว่ะ กูเห็นแม่งมีแต่คนมอง
ฉากที่ 5
สถานที่ หลังห้องน้ำในโรงเรียน
ตัวละคร โต๋เต๋ ติ่ง น๊อต
เวลา เช้า
เสียง ไม่มี
บท โต๋เต๋ : ตึ๊ด ตึ๊ด ตึ๊ด ตึ๊ด
เปี๊ยก : ว่าไงว่ะเต๋
เต๋ : คืนนี้เที่ยวไหนดีว่ะ
เปี๊ยก : กินเหล้า ร้านน่านั่งดีกว่าเว้ย
เปี๊ยก : ใครไปมั้งว่ะ
เต๋ : ไอติ่ง น๊อต กูและก็มึง
ฉากที่ 6
สถานที่ บ้านเปี๊ยก
ตัวละคร เปี๊ยก
เวลา ค่ำ
บท เปี๊ยก : โอเค ไว้เจอกันเว้ย
ฉากที่ 7
สถานที่ บ้านโต๋เต๋
ตัวละคร แม่ โต๋เต๋ ตุ๊กตา
เวลา ค่ำ
บท โต๋เต๋ : แม่ คืนนี้เต๋ไปเที่ยวกับเพื่อนนะ
แม่ : ไปอีกแล้วหรอเต๋
เต๋ : นานๆทีนะแม่ อย่าห่วงเลย
แม่ : เฮ้อ ! TT_T เหนื่อยใจกะลูกคนนี้จังเลย
ฉากที่ 8
สถานที่ ร้านน่านั่ง
ตัวละคร โต๋เต๋ ติ่ง เปี๊ยก น๊อต
เวลา ค่ำ
เสียง เพลงในผับ
บท เปี๊ยก : เอ้า ชนแก้ว
น๊อต : มีความสุขเว้ย ได้กินเหล้า เต็มที่เลยเพื่อน
ฉากที่ 9
สถานที่ ห้องนอนโต๋เต๋
ตัวละคร โต๋เต๋ ติ่ง เปี๊ยก น๊อต
เวลา เช้า
บท แม่ : เต๋ตื่นได้แล้วลูก เดี๋ยวไปเรียนสายนะลูก
เต๋ : ขออีก 10 นาทีนะแม่
ฉากที่ 10
สถานที่ ห้องน้ำบ้านเต๋
ตัวละคร เต๋
เวลา เช้า
เสียง คนอาบน้ำ
ฉากที่ 11
สถานที่ หน้าบ้านเต๋
ตัวละคร เต๋
เวลา เช้า
บท เต๋ : ตู๊ด ตู๊ด ตู๊ด
เปี๊ยก : วาไงว่ะเต๋
เต๋ : วันนี้ไม่ได้ไปไหนนั่งเล่นประปาดีกว่าว่ะ
เปี๊ยก : เดี๋ยวเจอกัน เอาน๊อตกะไอติ่งมาด้วยนะเว้ย
ฉากที่ 12
สถานที่ อ่างเก็บน้ำประปา
ตัวละคร เต๋ ส้ม
เวลา เช้า
เสียง วู้วิ้วของลม
บท เต๋ : เดินชนส้มด้วยความบังเอิญ
ฉากที่ 13
สถานที่ อ่างเก็บน้ำประปา
ตัวละคร เต๋ ส้ม
เวลา เช้า
เสียง วู้วิ้วของลม
บท เต๋ : ขอโทษครับ ผมไม่ได้ตั้งใจ
ส้ม : ไม่เป็นไรค่ะ ส้มก็ไม่ทันมอง
ฉากที่ 14
สถานที่ อ่างเก็บน้ำประปา
ตัวละคร เต๋ ส้ม
เวลา เช้า
เสียง วู้วิ้วของลม
บท เต๋ : เอ้า ! เขาทำของตกไว้นี่ แล้วหยิบมาดูเป็นเบอร์โทรศัพท์ของส้ม
เต๋ : คืนนี้ต้องโทซะหน่อยแล้ว
ฉากที่ 15
สถานที่ ห้องนอนเต๋
ตัวละคร เต๋
เวลา เย็น
เสียง เพลง ลุลา
ฉากที่ 16
สถานที่ ห้องนอนส้ม
ตัวละคร ส้ม
เวลา เย็น
เสียง เพลง ลุลา
ฉากที่ 17
สถานที่ บ้านเต๋
ตัวละคร เต๋ ส้ม
เวลา เย็น
บท เต๋ : เข้ามาสิส้ม วันนี้แม่ไม่อยู่
ส้ม อ่อ : จ้ะ
ฉากที่ 18
สถานที่ ห้องนอนเต๋
ตัวละคร เต๋ ส้ม
เวลา เย็น
บท ส้ม : เต๋ ลองไหมสนุกนะ
เต๋ : จะดีหรอส้ม
ส้ม : ควักยา ออกมา(แต่ไม่ได้พูด)
ฉากที่ 19
สถานที่ ห้องนอนเต๋
ตัวละคร เต๋ ส้ม
เวลา เย็น
บท เต๋ : เมายา เบลอๆ
ฉากที่ 20
สถานที่ ร้านน่านั่ง
ตัวละคร เต๋ ส้ม
เวลา เย็น
บท ส้ม : เต๋ไหวไหม
เต๋ : ไม่ไหวเลยอ่ะ กลับบ้านเหอะส้ม
ฉากที่ 21
สถานที่ ร้านน่านั่ง
ตัวละคร เต๋ ส้ม
เวลา เย็น
บท ส้ม : เต๋ขี่รถดีๆดิ ไหวไหมเนี่ย
เต๋ : เออ น่าๆ ไหว
ฉากที่ 22
สถานที่ บ้านเต๋
ตัวละคร แม่ เต๋
เวลา เย็น
บท แม่ : ทำไมทำนิสัยแบบนี้ล่ะเต๋ แม่ผิดหวังในตัวเราจริงๆนะ
แม่ : เหนื่อยใจกะลูกชายคนนี้จัง
ฉากที่ 24
สถานที่ บ้านเต๋
ตัวละคร เต๋
เวลา เย็น
บท เต๋ : ตู๊ดๆ ๆ ๆๆ โหย เซงโว้ย ทำไมไม่มีใครรับโทรศัพท์กูเลยว่ะ
ฉากที่ 25
สถานที่ สวนสาธารณะ
ตัวละคร เต๋ ผู้คนทั่วไป
เวลา เย็น
บท เต๋ : ยืนมองเพื่อนที่กำลังคุยกันอย่างสนุก
ฉากที่ 26
สถานที่ ถนนคนเดิน
ตัวละคร เต๋ รุ่นพี่
เวลา เย็น
บท รุ่นพี่ : น้องเป็นไรอ่ะ พี่เห็นยืนมองเพื่อนกลุ่มนี้นานแล้วนะ
เต๋ : คือ ผม ไม่กล้าเข้าไปหาเพื่อนอ่ะครับ
รุ่นพี่ : แล้วทำไมไม่เข้าไปล่ะ
เต๋ : อืเออ คือว่า……………….?
รุ่นพี่ : ไม่สบายใจอะไรปรึกษาได้นะ
เต๋ : คือ ผมกลัวคนรังเกียจ เพราะผมเคยติดยามาอ่ะครับ
รุ่นพี่ : คิดมากนะน้องเพื่อนกันต้องให้อภัยกันได้อยู่แล้ว
ฉากที่ 27
สถานที่ ริมคลอง
ตัวละคร เต๋
เวลา เย็น
บท เต๋ : นั่งคิดทบทวนในสิ่งที่ตัวเองทำ
ฉากที่ 28
สถานที่ บ้านเต๋
ตัวละคร เต๋
เวลา เย็น
บท เต๋ : วันนี้ว่างทำงานบ้านดีกว่าว่ะ
ฉากที่ 29
สถานที่ บ้านเต๋
ตัวละคร แม่ ตุ๊กตา เต๋
เวลา เย็น
บท แม่ ทำไมวันนี้บ้านดูสะอาดจัง
ฉากที่ 30
สถานที่ บ้านเต๋
ตัวละคร แม่ เต๋
เวลา เย็น
บท แม่ดีใจนะเต๋ที่เต๋กลับตัวกลับใจได้นะลูก
เต๋ : ครับ ต่อไปนี้ ผมจะตั้งใจเรียน กลับไปทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อพ่อกับแม่
แล้วก็น้องตานะครับ
ฉากที่ 31
สถานที่ สวนสาธารณะ
ตัวละคร เต๋ ผู้หญิง
เวลา เย็น
บท เต๋ : เดินผ่านมาเห็นเด็กผู้หญิงสูบบุหรี่ แล้วเอื้อมมือไปคว้าบุหรี่ที่เธอ
แล้วพูดว่า “เลิกเหอะ” แล้วโยนบุหรี่ทิ้ง
แนวคิดในการจัดทำ
แนวคิดในการจัดทำภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ย้อน” เรื่องนี้เป็นแนวคิดที่ได้มาจากบุคคลใกล้ตัวของผู้จัดซึ่งแสดงให้เห็นว่าเรื่องราวต่างๆ ที่ได้นำมาเผยแพร่นั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการ์ณอันตรายที่เราไม่สามารถคาดฝันได้บุคคลที่คอยเป็นกำลังใจหรืออยู่เคียงข้างเราก็คือบุคคลในครอบครัวเรานั่นเอง จึงเป็นที่ของภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ย้อน”
การวิเคราะห์
การนำผลงานมาพิจารณาดูความเหมาะสมในเรื่องความสัมพันธ์และมีความต่อเนื่องกันหรือไหม
ทั้งในเรื่องบทและความเหมาะสมของตัวนักแสดง ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย โดยมีหลักการดังนี้
1. ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนะคติในเรื่อง
2. ศิลปะการสื่อสาร การใช้ภาษาการและถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)